ซิลิโคน พาราเบน และซัลเฟต:
เราจะอธิบายเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ให้ทราบ
เคยสงสัยไหมว่าส่วนผสมต่างๆ ที่ใส่ในผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอางของคุณคืออะไร เราให้ความสำคัญกับความโปร่งใส เราจึงได้รวบรวมคู่มือฉบับย่อเอาไว้ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้งหมดต้องเป็นไปตามข้อกำหนดระหว่างประเทศที่เข้มงวดสูงสุดเพื่อให้สามารถวางจำหน่ายในตลาดได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือส่วนผสมต้องไม่อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ข้อกำหนดระหว่างประเทศได้กำหนดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอัพเดตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาว่าส่วนผสมใดต้องห้ามหรือเป็นที่ยอมรับ แม้จะได้รับอนุญาต แต่ส่วนผสมบางอย่างก็ถูกโต้แย้งเนื่องจากผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ซิลิโคน พาราเบน และซัลเฟต คลาแรงส์ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษต่อข้อโต้แย้งเหล่านี้ และมีส่วนร่วมในเชิงรุกต่อการปฏิบัติตามผลการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อสรุปใหม่ๆ ที่หน่วยงานด้านสุขภาพเป็นผู้ออก ถึงแม้ว่าส่วนผสมดังกล่าวจะได้รับอนุญาต แต่คลาแรงส์ก็ต้องการเปลี่ยนส่วนผสมเหล่านี้ออกจากสูตร หรือจำกัดให้เหลือปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หากไม่มีส่วนผสมทดแทน มาพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างใกล้ชิดให้มากยิ่งขึ้น
1. ซิลิโคน
INCI: Dimethicone; Dimethiconol; Cyclomethicone; Trimethicone; Cyclopentasiloxane
และอนุพันธ์
ซิลิโคน คือตระกูลของส่วนผสมที่ใช้ในสูตรเครื่องสำอาง สกินแคร์และผลิตภัณฑ์บำรุงผมอย่างแพร่หลาย ซิลิโคนได้รับความนิยมเพราะคุณสมบัติด้านความเรียบเนียน การลดเลือนปัญหาผิวและการลดความมัน รวมถึงเนื้อสัมผัสนุ่มลื่นชวนเพลิดเพลินดุจแพรไหม ปัญหาก็คือมีซิลิโคนสองตัว ได้แก่ cyclopentasiloxane (D5) และ cyclotetrasiloxane (D4) ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสะสมของสารจะทำให้เกิดน้ำเสียเพราะมีความเสถียรสูง นอกจากนี้ ยังเกิดข้อสงสัยว่า cyclotetrasiloxane (D4) เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ข้อกำหนดด้านเครื่องสำอางของยุโรปจำกัดการใช้สารชนิดนี้ที่ความเข้มข้น 0.1% ในผลิตภัณฑ์ชนิดล้างออก เนื่องจากคลาแรงส์ใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทางแบรนด์จึงมุ่งมั่นที่จะจำกัดการใช้ซิลิโคนทุกประเภทในผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอาง แม้สูตรไม่กี่สูตรของเครื่องสำอางที่มีอยู่จะสามารถใส่ cyclopentasiloxane หรือ cyclomethicone ได้ แต่คลาแรงส์ก็กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อหาทางเลือกอื่น ในการรังสรรค์เนื้อสัมผัสนุ่มลื่นดุจแพรไหมให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด
2. พาราเบน
ชื่อ INCI: Methylparaben; Ethylparaben
พาราเบนอยู่ในตระกูลของโมเลกุลที่แพร่หลาย มีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เภสัชกรรมและเครื่องสำอางเพราะคุณสมบัติด้านการกันเสีย โมเลกุลเหล่านี้จะช่วยรักษาสูตรเอาไว้ไม่ให้เสียหายและปกป้องสูตรจากการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น (แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ฯลฯ) แล้วข้อเสียล่ะ พาราเบนนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ ในเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายรายได้ดำเนินการศึกษาเพื่อตรวจสอบว่าพาราเบนมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร และพบว่าพาราเบนสองชนิดปลอดภัย ได้แก่ methylparaben และ ethylparaben แม้ข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องสำอางจะห้ามไม่ให้ใช้พาราเบน (พาราเบน 'long-chain') แต่ก็อนุญาตให้ใช้พาราเบน 'short-chain' สองชนิด ได้แก่ methyl และ ethylparaben แรงกระตุ้นจากสื่อทำให้คลาแรงส์เลือกใช้ส่วนผสมอื่นแทนพาราเบนสองชนิดนี้เพื่อการกันเสียในผลิตภัณฑ์ แต่เนื่องจากทุกๆ สูตรจำเป็นต้องผ่านการทดสอบและทดลองเพื่อค้นหาวิธีที่เหมาะสมในการถนอมคุณประโยชน์ คลาแรงส์จึงอาจจำเป็นต้องใช้ methyl หรือ ethylparaben เป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์บางรายการ
3. ซัลเฟต
ชื่อ INCI: Sodium laureth sulphate; Sodium lauryl sulphate
ในเครื่องสำอาง ซัลเฟตจะทำให้สูตรคงที่และสร้างความรู้สึกดุจฟองโฟมหรูหรา ซัลเฟตที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายที่สุดก็คือ sodium lauryl sulphate (SLS) และ sodium laureth sulphate (SLES) แล้วข้อเสียล่ะ ในบางครั้ง ซัลเฟตอาจทำให้เกิดการระคายเคือง และขั้นตอนการผลิตนั้นก่อให้เกิดมลภาวะ ข้อกำหนดด้านเครื่องสำอางอนุญาตให้ใช้ซัลเฟตได้โดยอ้างอิงตามการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้ซัลเฟตความเข้มข้นต่ำจะปลอดภัยสำหรับมนุษย์ แม้คลาแรงส์จะใช้ซัลเฟตตามความเข้มข้นที่ผ่านการรับรองว่าไม่มีความเสี่ยงตามข้อกำหนดในบางผลิตภัณฑ์ แต่ห้องทดลองก็กระตือรือร้นแสวงหาสารทดแทนที่ 'เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า’ เพื่อจำกัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีส่วนผสมบางอย่างที่ 'มีซัลเฟต' เช่น zinc sulphate และ magnesium sulphate ซึ่งทั้งสองตัวนี้ไม่ใช่ SLS หรือ SLES สารเหล่านี้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ทางเครื่องสำอางอื่นๆ เช่น เป็นส่วนผสมออกฤทธิ์หรือเป็นตัวทำละลายในสูตร ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและวิธีการผลิตสารดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ดังนั้นบางครั้งจึงมีการใช้ซัลเฟตในผลิตภัณฑ์ของคลาแรงส์
4. แอลกอฮอล์
INCI name: Alcohol
บางครั้ง อาจมีการใช้แอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบเอทานอล ผลิตภัณฑ์เช่นนี้จะระเหยหลังทาพร้อมให้ความรู้สึกเย็นสดชื่น นั่นหมายความว่าส่วนผสมบางอย่างสามารถถูกทำละลายภายในสูตร ซึ่งสูตรจะได้รับการถนอมไว้เป็นอย่างดี แล้วข้อเสียล่ะ บางครั้ง แอลกอฮอล์อาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคือง เนื่องจากคลาแรงส์ให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพพร้อมสัมผัสที่รื่นรมย์และปลอดภัยต่อผิว แบรนด์จึงใช้เฉพาะแอลกอฮอล์จากธรรมชาติเท่านั้น (กลั่นจาก beetroot และ wheat) ในผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอางโดยใช้ในระดับความเข้มข้นที่ไม่ก่อให้เกิดความแห้งกร้านหรือการระคายเคือง
5. อีดีทีเอ
ชื่อ INCI: Disodium EDTA; Tetrasodium EDTA; Trisodium EDTA
มีการใช้กรดเอทิลีนไดอามีนเตตราอาเซติกหรือที่รู้จักกันในชื่ออีดีทีเอและอนุพันธ์เพื่อให้มั่นใจว่าสูตรของเครื่องสำอางยังคงเสถียร แล้วข้อเสียล่ะ ผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม แม้จะมีการอนุญาตให้ใช้อีดีทีเอตามข้อกำหนดระหว่างประเทศ แต่คลาแรงส์กำลังเร่งดำเนินการศึกษาตัวเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ามาทดแทน
6. พีน็อกซ์ซีเอธานอล
ชื่อ INCI: Phenoxyethanol
พีน็อกซ์ซีเอธานอลคือสารกันเสียที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าเครื่องสำอางยังคงสดใหม่ตลอดอายุการวางจำหน่ายและตลอดการใช้งาน พีน็อกซ์ซีเอธานอลใช้เพียงนิดเดียวแต่มีประสิทธิภาพสูงมาก จึงได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายครั้งโดยทำขึ้นเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของการใช้งานในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คลาแรงส์ใช้พีน็อกซ์ซีเอธานอลเพื่อถนอมสูตรเอาไว้โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านเครื่องสำอางที่ใช้บังคับ
7. พทาเลท
ชื่อ INCI: Diethyl phthalate
ในตระกูลพทาเลท มีการอนุญาตให้ใช้ diethyl phthalate (DEP) เท่านั้นสำหรับการใช้งานในเครื่องสำอาง มีการใช้พทาเลทในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแอลกอฮอล์จนได้เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ในน้ำหอมซึ่งไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์ ปัญหากับสารประกอบเคมีในตระกูลนี้ สารประกอบเคมีในตระกูลนี้มีฤทธิ์ก่อมะเร็งและฤทธิ์ทางพันธุกรรม รวมถึงอาจเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ว่า DEP มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ ดังนั้น ข้อกำหนดที่ใช้บังคับจึงอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้ในสูตรเครื่องสำอาง แต่ถึงแม้จะมีข้อกำหนดนี้ คลาแรงส์ก็ไม่ได้ใช้พทาเลทชนิดใดๆ ในสูตร รวมถึง DEP ด้วย แต่เลือกที่จะใช้สารแปลงสภาพตัวอื่นในรูปของ ethylene brassylate แทน
8. สารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อ
Nom INCI : Diethyl phthalate
ชื่อของสารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อบ่งบอกว่าสารชนิดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่ออย่างน้อยหนึ่งด้านซึ่งส่งผลกระทบที่อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีรายชื่อที่เป็นทางการของสารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อซึ่งเป็นที่ยอมรับและเผยแพร่โดยคณะกรรมาธิการยุโรป อย่างไรก็ตาม หากส่วนผสมให้ผลเช่นสารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อ ก็จะถูกขึ้นบัญชีดำสำหรับการใช้งานในเครื่องสำอาง เนื่องจากคลาแรงส์ใส่ใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค แบรนด์จึงเลือกใช้ส่วนผสมและสูตรตามข้อกำหนดล่าสุดและกระตือรือร้นติดตามการค้นหาทางพิษวิทยาทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ส่วนผสมที่ถูกระบุว่าเป็นสารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อ
9. มิเนอรัลออยล์
ชื่อ INCI: Paraffinum liquidum; Paraffin; Synthetic wax; Cera microcristallina/Microcrystalline wax; Ozokerite; Ceresin; Isododecane; Isohexadecane; Hydrogenated polyisobuten; Hydrogenated didecene
พาราฟินเหลว วาสลีน น้ำมันวาสลีน มิเนอรัลแว๊กซ์ ฯลฯ อยู่ในตระกูลมิเนอรัลออยล์ที่แพร่หลาย มิเนอรัลออยล์ใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเภสัชกรรมและเครื่องสำอางเนื่องจากคุณสมบัติที่ทำให้ผิวนุ่ม สามารถสร้างเนื้อสัมผัสและทำให้ผิวชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี มิเนอรัลออยล์ได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายครั้งเพื่อบ่งชี้ว่าปลอดภัยอย่างเต็มที่สำหรับการใช้งานของมนุษย์ เช่นเดียวกับส่วนผสมทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตตามข้อกำหนดด้านเครื่องสำอาง แล้วข้อเสียล่ะ มิเนอรัลออยล์เป็นผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันที่สร้างมลภาวะ ผลิตภัณฑ์ของคลาแรงส์บางตัวในปัจจุบันอาจมีส่วนผสมของมิเนอรัลออยล์ แต่เนื่องจากแบรนด์ใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง คลาแรงส์จึงกระตือรือร้นแสวงหาทางเลือกอื่นสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดที่วางจำหน่าย
10. ซัน ฟิลเตอร์:
ชื่อ INCI:
INCI สำหรับซัน ฟิลเตอร์ยุโรป-เอเชีย 2019:
ซัน ฟิลเตอร์เคมี/ออร์แกนิค: Diethylamino Hydroxybenzoyl Hexyl Benzoate, Bis-Ethylhexyloxyphenol methoxyphenyl Triazine, methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol [nano], Ethylhexyl Salicylate, Ethylhexyl triazone, Octocrylene, Polysilicone-15, Butyl methoxydibenzoylmethane, Homosalate มิเนอรัลซัน ฟิลเตอร์: Titanium dioxide, Zinc oxide
INCI สำหรับซัน ฟิลเตอร์อเมริกา-แคนาดา 2019: ซัน ฟิลเตอร์เคมี/ออร์แกนิค: Butyl methoxydibenzoylmethane, Ethylhexyl methoxycinnamate, Ethylhexyl Salicylate, Polysilicone-15, Homosalate, Octocrylene มิเนอรัลซัน ฟิลเตอร์: Titanium dioxide, Zinc oxide
ซัน ฟิลเตอร์คือตระกูลใหญ่ของส่วนผสมที่สามารถปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ที่เป็นอันตรายของแสงอาทิตย์ ซัน ฟิลเตอร์เหล่านี้อยู่ในรูปแบบเคมี (หรือที่เรียกว่าออร์แกนิค) และรูปแบบมิเนอรัล ทั้งนี้ ซัน ฟิลเตอร์มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของผู้คนในฐานะส่วนผสมสำคัญที่ใส่ในผลิตภัณฑ์กันแดด เราเลือกซัน ฟิลเตอร์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของเราตามรายชื่อทางการของซัน ฟิลเตอร์ที่ได้รับอนุญาตภายใต้ชุดข้อกำหนดระหว่างประเทศต่างๆ รายชื่อทางการเหล่านี้แตกต่างกันในแต่ละประเทศและอ้างอิงตามการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ปรับปรุงเป็นประจำจำนวนมากซึ่งทำขึ้นเพื่อตรวจสอบว่าปลอดภัยสำหรับสุขภาพมนุษย์และมีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UV แล้วข้อเสียล่ะ มีสาเหตุที่ทำให้เชื่อได้ว่ามิเนอรัลซัน ฟิลเตอร์อาจเป็นสารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อหรือสารออกฤทธิ์ก่อมะเร็ง และคาดว่าเป็นมลภาวะต่อมหาสมุทรรวมถึงก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ทะเล ผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นหนึ่งในส่วนผสมทางเครื่องสำอางที่มีการศึกษาอย่างแพร่หลายมากที่สุดในชุมชนวิทยาศาสตร์ เมื่อพิจารณาการศึกษาทั้งหมด การศึกษาเหล่านั้นไม่ได้บ่งชี้ว่าซัน ฟิลเตอร์ที่ได้รับอนุญาตมีโอกาสที่จะเป็นสารก่อกวนระบบต่อมไร้ท่อหรือสารออกฤทธิ์ก่อมะเร็งสำหรับสุขภาพของมนุษย์ เมื่อคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและโดยเฉพาะผลกระทบต่อมหาสมุทรรวมถึงสัตว์ทะเล การประเมินสถานการณ์อย่างแม่นยำและการหาฉันทามติก็เป็นเรื่องยากเนื่องจากไม่มีการกำหนดบรรทัดฐานหรือมาตรฐานเพื่อเป็นเกณฑ์ของสถานการณ์
สุขภาพของผู้บริโภคคือสิ่งที่คลาแรงส์ให้ความสำคัญสูงสุดและแบรนด์ได้ย้ำถึงความสำคัญในการปกป้องผิวคุณจากแสงแดดอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องสุขภาพของคุณ ดังนั้นการทาผลิตภัณฑ์กันแดดก่อนออกแดดและการทาซ้ำอย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมง รวมถึงทุกครั้งหลังว่ายน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดระหว่างประเทศต่างๆ คลาแรงส์ใช้ซัน ฟิลเตอร์แบบเคมีและแบบมิเนอรัลที่แตกต่างกันตามที่ได้รับอนุญาตในผลิตภัณฑ์กันแดดของแบรนด์
โดยปริมาณทั้งหมดที่ใช้ถือว่าอยู่ในระดับปลอดภัยสำหรับสุขภาพมนุษย์ขณะที่คงไว้ซึ่งระดับการปกป้องที่เหมาะสม ประสิทธิภาพในการป้องกันของผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งหมดของ คลาแรงส์
ผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดจากห้องทดลองอิสระโดยใช้วิธีที่ข้อกำหนดใช้บังคับก่อนวางจำหน่ายในตลาด และเนื่องจากคลาแรงส์ใส่ใจโลกใบนี้ แบรนด์จึงใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นต่อการปกป้องผิว
ข้อมูลพิเศษที่เพิ่มเติมสำหรับประเทศต่างๆ ในยุโรปและเอเชียตั้งแต่เมษายน 2019:
เนื่องจากไม่มีผลการทดสอบอ้างอิง คลาแรงส์จึงใช้เกณฑ์วิธีการทดสอบเพื่อประเมินผลกระทบที่กลุ่มผลิตภัณฑ์กันแดดมีต่อปะการัง การทดสอบเหล่านี้บ่งชี้ว่าสูตรผลิตภัณฑ์กันแดด*
ของคลาแรงส์มีผลกระทบต่อความยั่งยืนของปะการังน้อยมากและไม่ทำให้ปะการังเกิดภาวะฟอกขาวหรือตายลง
*ในทุกสูตรยกเว้น Mineral Sun Care Liquid SPF 30 และ Mineral Sun Care Compact SPF 30
11. ไทเทเนียม ไดออกไซด์
ชื่อ INCI: Titanium dioxide
ไทเทเนียม ไดออกไซด์เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่พบตามธรรมชาติ เมื่อผ่านกระบวนการและทำให้บริสุทธิ์ ไทเทเนียม ไดออกไซด์จะกลายเป็นหนึ่งในสารที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดทั่วโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร เภสัชกรรมและเครื่องสำอาง ในเครื่องสำอาง ไทเทเนียม ไดออกไซด์สามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์กันแดดเพื่อปกป้องผิวจากรังสี UV ที่เป็นอันตรายของแสงอาทิตย์ ข้อกำหนดระหว่างประเทศอนุญาตให้ใช้ไทเทเนียม ไดออกไซด์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้และเป็นหนึ่งในซัน ฟิลเตอร์เพียงไม่กี่ตัวที่ได้รับอนุญาต โดยถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอางสูตรที่ทำให้สีผิวอ่อนลงและขาวขึ้น ดังนั้น จึงมีการใช้ในเครื่องสำอางที่ให้ผลด้าน 'ความกระจ่างใส' หรือ 'การสะท้อนแสง' ซึ่งขนาดที่เล็กมากของซัน ฟิลเตอร์กลายเป็นที่ต้องการเพื่อใช้พัฒนาการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับสูตรที่ต้องการ แล้วข้อเสียล่ะ ขนาดที่เล็กมากของซัน ฟิลเตอร์ทำให้สามารถซึมลงผิวกายได้ง่าย ข้อกำหนดระหว่างประเทศอนุญาตให้ใช้อนุภาคนาโนของไทเทเนียม ไดออกไซด์อย่างชัดเจนโดยอ้างอิงตามการประเมินทางพิษวิทยาซึ่งกำหนดเปอร์เซ็นต์การใช้ในผลิตภัณฑ์กันแดดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ ดังนั้นคลาแรงส์อนุญาตให้ใช้อนุภาคนาโนของไทเทเนียม ไดออกไซด์ในผลิตภัณฑ์กันแดด SPF และให้ระบุคำว่า [NANO] หลังชื่อ 'ไทเทเนียม ไดออกไซด์' ในรายชื่อส่วนผสมที่พิมพ์บนผลิตภัณฑ์ตามที่ข้อกำหนดของยุโรปกำหนดไว้
12. พลาสติก
ชื่อ INCI: HDI/Trimethylol hexyllactone crosspolymer; Nylon-12; Methyl methacrylate crosspolymer; Polymethyl methacrylate; Polyethylene; Vinyl dimethicone/methicone silsesquioxane crosspolymer
คำว่า พลาสติก รวมถึงพอลิเมอร์หลายชนิดซึ่งอาจได้จากการสังเคราะห์หรือได้จากธรรมชาติ โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ฟิลม์ เส้นใย กลิตเตอร์ แป้ง เจล... มีการใช้พลาสติกในอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น การออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอาง เนื่องจากพลาสติกมีความโค้งงอง่ายและยืดหยุ่นได้ จึงถูกนำมาขึ้นรูป อัดรีด อัด และผลิตในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันจำนวนมากในด้านความโปร่งแสง ความทนทาน ความโค้งงอง่ายและความยืดหยุ่น ในเครื่องสำอาง มีการใช้พลาสติกหลายชนิดโดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะ เมื่อไม่นานก่อนหน้านี้ไมโครบีดส์จากพลาสติก (อนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มม.) เคยถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวในสครับขัดผิว ปัจจุบัน ข้อกำหนดด้านเครื่องสำอางของยุโรปห้ามไม่ให้ใช้ไมโครบีดส์จากพลาสติกอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม มีการอนุญาตให้ใช้แป้งที่ทำจากพลาสติกในผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอางเพื่อผลลัพธ์แบบซอฟต์เอฟเฟ็คหรือเพื่ออำพรางจุดบกพร่อง นอกจากนี้ ยังมีการใช้สารที่ทำให้เกิดเจลซึ่งทำจากพลาสติกเพื่อสร้างเนื้อสัมผัสและมอบความรู้สึกนุ่มลื่นชวนเพลิดเพลินดุจแพรไหม หรือ 'ความลื่น' แล้วข้อเสียล่ะ พลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ด้วยวิธีการทางชีววิทยาจะสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเพราะการตกค้างสะสม เนื่องจากคลาแรงส์ใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทางแบรนด์จึงยกเลิกใช้ไมโครบีดส์จากพลาสติกในสครับผลัดเซลล์ผิวทุกสูตรก่อนที่ข้อกำหนดด้านเครื่องสำอางจะห้ามอย่างเป็นทางการ แล้วหันไปเน้นตัวเลือกจากธรรมชาติ (ไมโครบีดส์เซลลูโลส ผงลาวา น้ำตาล และเกลือผลึก) นอกจากนี้ในบางครั้ง ถึงแม้คลาแรงส์อาจใช้แป้งและสารที่ทำให้เกิดเจลซึ่งทำจากพลาสติกในผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอาง แต่ทางแบรนด์ก็ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่บังคับใช้เสมอและพยายามจำกัดการใช้โดยค้นหาตัวเลือกอื่นที่ให้สัมผัสที่มีลักษณะเทียบเท่ากัน